เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 3. อุทานสูตร

ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พีชสูตรที่ 2 จบ

3. อุทานสูตร
ว่าด้วยการเปล่งอุทาน

[55] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า “ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขาร (การปรุงแต่งกรรม) จักไม่ได้มีแล้ว
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ)ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณ
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่ไม่
เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสัญญาที่ไม่เที่ยงตามความเป็น
จริงว่า ‘สัญญาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสังขารที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารไม่เที่ยง’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :78 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 3. อุทานสูตร

เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ... เวทนาที่เป็น
ทุกข์ ... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ ... เวทนาที่
เป็นอนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’
... เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’
เธอไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’
... ‘สังขารจักมี’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
เธอรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ... ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ...
‘สัญญาไม่เที่ยง’ ... ‘สังขารไม่เที่ยง’ รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ ...
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นอนัตตา ...
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็น
จริงว่า ‘วิญญาณถูกปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :79 }